PI/Thaipbs
23 พฤษภาคม 2024
เป้าหมาย
ประชาพิจารณ์ในทางรัฐธรรมนูญ หมายถึง กระบวนการที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ
ทั้งภาครัฐและประชาชนมีส่วนร่วมนำเสนอข้อมูล คำแถลง จุดยืน ข้อเท็จจริง
และความคิดเห็นทั้งในเชิงสนับสนุนหรือคัดค้าน เกี่ยวกับนโยบาย ร่างกฎหมาย หรือการริเริ่มโครงการของรัฐ
เพื่อให้รัฐนำข้อพิจารณาของทุกฝ่ายไปเปรียบเทียบผลดีผลเสีย หาจุดสมดุลที่เหมาะสม
และใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบ โปร่งใส และมีความรับผิดชอบ ก่อนที่จะตัดสินใจตามอำนาจที่มีอยู่ต่อไป
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ประชาพิจารณ์ต้องเกิดขึ้นก่อนการตัดสินใจของรัฐ ดังนั้น
หากรัฐได้ตัดสินใจในโครงการใด ๆ ไปก่อนแล้วกระบวนการที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่การรับฟังหรือการปรึกษาหารือ
หากเป็นเพียงการประชาสัมพันธ์เท่านั้น
ประชาพิจารณ์ vs ประชามติ ต่างกันอย่างไร
ข้อแตกต่าง |
ประชามติ |
ประชาพิจารณ์ |
1.วัตถุประสงค์ |
จะต้องมีการลงคะแนนเสียงเพื่อหามติของประชาชนในเรื่องสำคัญนั้น ๆ |
เป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบในเรื่องนั้น
ก่อนที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะมีคําสั่ง หรือดําเนินการใด ๆ |
2.หลักเกณณ์และวิธีการดำเนินการในปัจจุบัน |
รัฐธรรมนูญปี2550 มาตรา 165 และพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
พ.ศ. 2552 |
รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 57, 67 วรรคสอง และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 |
3.เหตุที่จะต้องมีการดำเนินการ |
1. กรณีที่เป็นดุลยพินิจของคณะรัฐมนตรี
หากคณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติ หรือประชาชน
หรือ |
|
กลุ่มเป้าหมาย
- กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ (รัฐธรรมนูญ มาตรา 165)
- ก่อนการอนุญาตหรือการดําเนินโครงการ หรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย
คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสําคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตน หรือชุมชนท้องถิ่น (รัฐธรรมนูญ มาตรา 57
วรรคหนึ่ง)
- ก่อนการดําเนินการวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
การวางผังเมือง การกําหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสําคัญของประชาชน (รัฐธรรมนูญ มาตรา 57 วรรคสอง)
- ก่อนการดําเนินการโครงการ
หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสอง)
ข้อมูลที่ใช้
การมีส่วนร่วมของประชาชน
ประชามติ |
ประชาพิจารณ์ |
ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการได้เพียงลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกิจกรรมที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติเพ่านั้น
|
ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการได้ตั้งแต่การนำเสนอข้อมูล คำแถลง จุดยืน ข้อเท็จจริง
คำแนะนำ ข้อสังเกต และความคิดเห็นของตนเองได้ |
ผลผูกพันตามกฎหมาย
ประชามติ |
ประชาพิจารณ์ |
มีผลเป็นยุติหรือเป็นการให้คำปรึกษาก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะให้ออกเสียงประชามติ
|
ข้อคิดเห็นหรือข้อมูลที่ได้จะเป็นเพียงข้อเสนอประกอบการพิจารณา อำนาจการตัดสินใจยังอยู่ที่รัฐ
|
ทำอย่างไร
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ในประเทศไทยนั้น
เริ่มแรกได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะเรื่อง เช่น พรบ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
2511 / พรบ.การจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 2517 / พรบ.การผังเมือง 2518 เป็นต้น
ซึ่งมีบทบัญญัติกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนตัดสินใจดำเนินโครงการตามกฎหมายเฉพาะหน้าดังกล่าว
นอกจากนี้ยังอาจอาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์
พ.ศ.2539 ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความเห็นของประชาชนเป็นการทั่วไป
กระทั่งรัฐธรรมนูญปี2540 ได้รับรองให้ “การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน”
เป็นครั้งแรก ในมาตรา59 ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง
และเหตุผลจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย
คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตน ชุมชน ท้องถิ่น
และสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้
ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ”