กรณีศึกษา ตัวอย่างโครงการที่ทำผ่านแนวคิดปัญญารวมหมู่

วิทยาศาสตร์พลเมือง

วิทยาศาสตร์พลเมือง

PI/Thaipbs 23 พฤษภาคม 2024

เป้าหมาย

วิทยาศาสตร์พลเมือง คือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์โดยประชาชน โดยใช้เทคโนโลยีและความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษา และสังเกตอย่างมีส่วนร่วมกับคนที่หลากหลาย ไม่ใช่นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น มาร่วมสรุปผล วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้

วิธีการ

เริ่มต้นมาจากสภาเทศบาลเมืองบาร์เซโลนา ต้องการส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในกระบวนการและงานวิจัย เช่น ความโปร่งใส ความเท่าเทียมและการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเปิดเผย

กลุ่มเป้าหมาย

พลเมือง

ทำไมต้องทำ

  • วิทยาศาสตร์พลเมืองสามารถทำให้คนเข้าถึงข้อมูลหรือความรู้ที่หลากหลายและเท่าทัน
  • วิทยาศาสตร์พลเมืองเปิดโอกาสให้สังคมมีเสียงหรือตั้งคำถามต่อสังคมมากขึ้น
  • วิทยาศาสตร์พลเมืองช่วยเก็บ รวบรวมข้อมูลและความรู้ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน ช่วยทำให้เกิดแนวทาง การตัดสินใจผ่านชุดข้อมูลที่นำไปสู่การสร้างนโยบายที่ดีได้
  • วิทยาศาสตร์พลเมืองเสริมสร้างประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม ด้วยการทดลองการมีส่วนร่วมให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายได้
  • วิทยาศาสตร์พลเมือง ยกระดับความสามารถของพลเมืองในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและองค์กร สร้างความมั่นใจและความรู้ที่เกี่ยวข้องผ่านวิทยาศาสตร์พลเมือง

ตัวอย่าง

Card image
BeePath

เครื่องมือในการศึกษาการเคลื่อนไหวของมนุษย์ผ่านการบันทึก โดยแอพพลิเคชันบนโทรศัพท์ ซึ่งแอพลิเคชันจะทำงานในบริบทที่เฉพาะต่างกันไป และจะวิเคราะห์ประเภทการเคลื่อนไหวของผู้ใช้อัตโนมัติ และนำเสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายผลที่ได้

Card image
Floodup

เครื่องมือสำรวจและรวบรวมผลกระทบจากความเสี่ยงภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประเด็นที่ต้องตรวจสอบและวิธีที่ชุมชนรับตัวกับสถานการณ์นั้น โดยแบ่งประเด็นการสำรวจระดับน้ำท่วม น้ำฝน และปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบัน

- ก่อนหน้า
- ถัดไป