วิวัฒนาการของหมอลำ
หมอลำในฐานะเครื่องมือที่ผู้คนในวัฒนธรรมลาวใช้บอกเล่าเรื่องราว
ประเพณี และความเชื่อนั้นมีมาอย่างยาวนาน
และได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
และเพื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของหมอลำนั้น
เราสามารถจัดแบ่งช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงของหมอลำออกได้เป็น 5 ยุค
ยุคที่ 1 ก่อนปี 2500
เป็นยุคของ “หมอลำพื้น” ซึ่งถือเป็นยุคกำเนิดของหมอลำหมู่ในปัจจุบัน
หมอลำพื้นจะเป็นการแสดงด้วยหมอลำคนเดียวและแสดงทุกบทบาทในตัวคน ๆ
เดียว จุดเปลี่ยนสำคัญของหมอลำยุคแรก
คือหมอลำพื้นได้รับความนิยมน้อยลง
สาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากการเข้ามาของสื่อวิทยุ และโทรทัศน์
ทำให้หมอลำต้องปรับตัวให้มีการแสดงที่สมบทบาท
มีคนแสดงครบตามบทเพื่อเหมือนจริง
ยุคที่ 2 ช่วงปี 2500-2515
คือ ยุคของ “หมอลำหมู่” หรือ “หมอลำเรื่องต่อกลอน”
มีการกระจายบทบาทการแสดงให้ มีตัวแสดงที่หลากหลายขึ้น
มีการเดินเรื่องให้กระชับและสมบทบาทมากขึ้น และในยุคนี้มีการว่าจ้าง
การแสดงที่ชัดเจน จุดเปลี่ยนสำคัญของยุคที่สอง คือ
กระแสของเพลงลูกทุ่งภาคกลาง ลิเกภาคกลาง
และการแสดงโชว์ในคอนเสิร์ตลูกทุ่ง
ได้รับความนิยมเป็นอันมากในหมู่คนอีสาน
หมอลำหมู่จึงได้นำเอารูปแบบแสดงโชว์และการแสดงคอนเสิร์ตมาแสดงในช่วงครึ่งแรกของช่วงการแสดงเพื่อเรียก
ผู้ชมและหลังจากนั้นจึงต่อด้วยหมอลำเรื่องต่อกลอน
ยุคที่ 3 ช่วงปี 2516-2535
เป็นยุคที่หมอลำหมู่ได้รับความนิยม จนถึงขีดสุด
มีคณะหมอลำเกิดขึ้นกว่าร้อยคณะในภาคอีสานโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
เริ่มมี นายทุนเข้ามาสนับสนุนธุรกิจหมอลำ
มีการตั้งสำนักงานหมอลำที่เป็นแหล่งให้บริการว่าจ้างหมอลำ เต็มรูปแบบ
ในยุคนี้เริ่มมีธุรกิจบันทึกเสียงและวิดีโอการแสดงหมอลำเพื่อนำไปออกอากาศใน
สถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุ
ผู้ชมมีช่องทางเข้าถึงหมอลำได้หลากหลายขึ้นนอกจากการแสดงสดในพื้นที่
และถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ
ที่หมอลำได้ก้าวสู่ยุคแห่งการเป็นอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างเต็มรูปแบบ
ยุคที่ 4 ช่วงปี 2535-2559
เป็นยุคของความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจหมอลำทั้งในรูปแบบการแสดง
รูปแบบการบริหารวง และรูปแบบการติดต่อประสานงาน
จุดเปลี่ยนสำคัญของยุคนี้คือ
หมอลำก้าวเข้าสู่ยุคคอนเสิร์ตลูกทุ่งหมอลำเต็มรูปแบบ
มีการกำหนดมาตรฐานราคาจ้างทำการแสดง
การบริหารจัดการวงมีความเป็นองค์กรและมีความมืออาชีพมากขึ้น
อีกจุดที่น่าสนใจของยุคนี้คือ คณะหมอลำที่มีการลงทุนถึงไป “รอด”
และยืนอยู่ได้ ขณะที่หลายคณะขาดทรัพยากรและแหล่งทุนก็ถึงขั้น “ร่วง”
และปิดตัวไป แต่ความนิยมในการรับชมการแสดงหมอลำกลับไม่ถดถอย
เริ่มมีผู้ชมที่มาจากหลากหลายช่วงวัยสนใจชมหมอลำมากขึ้น
ซึ่งแต่เดิมการดูหมอลำมักมองว่าเป็นเรื่องของคนสูงอายุเท่านั้น
ยุคที่ 5 ช่วงปี 2560-2564
ในยุคปัจจุบันหลายคนเรียกหมอลำในยุคนี้ว่าเป็น ยุคหมอลำออนไลน์
เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการหมอลำ (ก่อนโควิด-19)
ที่ศิลปินและผู้ประกอบการธุรกิจหมอลำเริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปั่นป่วน
(disruption)
มีการนำเครื่องมือและแพลตฟอร์มออนไลน์เข้ามาสื่อสารและนำเสนอผลงานกับ
กลุ่มเป้าหมายที่ขยายขอบเขตมากขึ้นจนทำให้คนทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงหมอลำได้
เมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19
เข้ามาแบบไม่ทันตั้งตัวก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อการแสดงของหมอลำเป็นอย่าง
มากอันเนื่องจากมาตรการของรัฐและการไม่กล้าจัดกิจกรรมของเจ้าภาพ
จึงเป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญใน ประวัติศาสตร์ของหมอลำ คือ
หมอลำก้าวสู่พื้นที่ออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ
ภายใต้การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดและเพื่อปากท้องของคนหลายร้อยชีวิตในแต่ละวง
ก็เกิดนวัตกรรมบนพื้นที่เสมือน (virtual) ขึ้น
ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบของหมอลำที่มีการเตรียมตัวและปรับตัวในรูปแบบออนไลน์มาก่อนหน้าการแพร่ระบาดของโควิด-19
จากพลวัตรของหมอลำที่ผ่านมาทั้ง 5 ยุค
ประเภทของหมอลำที่ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากคือ หมอลำเรื่องต่ำกลอน
และด้วยความนิยมในหมอลำกลอนประเภทนี้
จึงได้มีงานศึกษามูลค่าทางเศรษฐกิจอยู่บ้างยกตัวอย่างเช่น ผศ.ดร.ศิวาพร
ฟองทอง และคณะ (2565) และ ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย (2564) โดยงานศึกษาทั้ง
2
ชิ้นนี้ได้เสนอล้วนแล้วแต่เสนอให้มีการสนับสนุนและพลักดันหมอลำในฐานะหนึ่งในเครื่องยนต์ทางวัฒนธรรมที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้